Advertising Zone    Close

เทศกาลกินเจ

งานเทศกาลกินเจ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน (ช่วงเดือนตุลาคม)


วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน (ช่วงเดือนตุลาคม) ตามโรงเจในศาลเจ้าต่างๆ มีการประกอบอาหารเจบริการให้กับชาวบ้านที่ถือศีลกินเจ และมีเทพเจ้าประทับทรงออกเยี่ยมลูกหลานตามบ้านเรือน ถือเป็นประเพณีที่ชาวตรังปฏิบัติเคร่งครัดตามแบบอย่างโบราณมากกว่า 100 ปี

ภาพคนไทยเชื้อสายจีนแต่งชุดขาว ภาพธงทิวสีเหลืองประดับประดาตามร้านอาหาร ภาพคนหนุ่มสาวหิ้วปิ่นโตขี่รถมอเตอร์ไซค์ ภาพขบวนแห่เจ้าแม่เจ้าพ่อ จะปรากฎให้ท่านเห็นอย่างลานตา เสมือนว่าท่านกำลังเดินอยู่ในเมืองอีกเมืองหนึ่งที่ท่านบังเอิญพลัดหลงเข้าไป

เทศกาลชักพระ

ชักพระทางน้ำ ชักพระทางบก



ประเพณีลากพระน้ำ บ้านหาดสำราญ

ประเพณีลากพระน้ำ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตามสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยของแต่ละท้องถิ่น ถ้าท้องถิ่นใด อยู่ริมน้ำหรือมีลำคลองก็จะจัดงานประเพณีลากพระน้ำ เพราะสะดวกในการชักลาก ง่ายแก่การรวมกลุ่มต่อการจัดทำกิจกรรม การละเล่นต่างๆ การลากพระน้ำของตำบลหาดสำราญจัดขึ้น ณ บ้านปากปรนตก หมู่ที่ 1 ต. หาดสำราญ
กิ่งอำเภอหาดสำราญ จ. ตรัง ซึ่งประชาชนบ้านปากปรนตก ร่วมมือกับ อบต. หาดสำราญ จัดขึ้นทุกๆ ปี ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 จากท่าเทียบเรือบ้านปากปรนไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลิบง (แหลมจุโหย)

กิจกรรมที่น่าสนใจ

1. จัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระ
2. การแข่งขันกีฬาฟุตบอล
3. การละเล่นสกีบก วิ่งเปรี้ยว
4. การแข่งขันเรือพาย ซึ่งมี 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
- การแข่งขันเรือพายประเภท 14 ฝีพาย (ประเภทหญิง)
- การแข่งขันเรือพายประเภท 16 ฝีพาย (ประเภทชาย)
-การแข่งขันเรือพาย

ประเพณีชักพระวันออกพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านกับวัดจะร่วมกันแห่ขบวนพระพุทธรูปประทับบุษบกไปยังสถานที่ต่างๆ เหมือนการต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์ ซึ่งจะมีทั้งชักพระทางบกและทางน้ำ ประเพณีชักพระทางน้ำที่ขึ้นชื่อของจ.ตรัง จัดขึ้นที่บ้านปากปรน ต.หาดสำราญ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทำอาชีพประมง โดยในวันงานจะเริ่มขบวนเรือชักพระจากคลองในหมู่บ้าน ออกสู่ทะเลไปยังแหลมจุโหย เกาะลิบง เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคาที่ประทานกุ้งหอยปูปลาให้แต่ละปี
และลอยพระเคราะห์ออกสู่ปากแม่น้ำตรัง แห่ขบวนเรือกลับสู่หมู่บ้าน มีการละเล่นในตอนกลางวันและมีงานฉลอง
ในตอนกลางคืน
 
 

งานชักพระของอบจ.ตรัง

   
 
   
   
   
 

งานชักพระของชาวลำภูรา

   
   
 
 งานเทศกาลขนมเค้ก ชาวตรังมีชื่อเสียงในการทำขนมเค้กมาช้านาน โดยเฉพาะที่บ้านลำภูรา เป็นแหล่งผลิตขนมเค้กมาแต่ดั้งเดิม เอกลักษณ์ของขนมเค้กของชาวตรังจะไม่ใช้ครีมตกแต่งหน้าเค้ก ขนมเค้กมีหลายรส เช่น รสส้ม รสกาแฟ รสสามรส รสใบเตย รสเนย งานเทศกาลขนมเค้กจัดเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนสิงหาคม บริเวณถนนสถานี
งานเทศกาลหอยตะเภา

เป็นเทศกาลที่มุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยใช้แหล่งท่องเที่ยวคือชายหาดปากเมงเป็นสถานที่จัดงาน ซึ่งถือเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว และแหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงไปด้วยในตัว งานเทศกาลจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
  งานเทศกาลหอยตะเภา
เทศกาลหมูย่าง
 


งานเทศกาลหมูย่าง ทุกเดือนกันยายน


หมูย่างเป็นอาหารสำหรับรับประทานประกอบกับน้ำชา กาแฟ ในมื้อเช้า และเป็นอาหารที่ใช้ในงานประเพณี เช่น งานแต่งงาน งานบำเพ็ญกุศลศพโดยเฉพาะวันเคลื่อนศพไปสุสานของคนไทยเชื้อสายจีน และเป็นของฝากในเทศกาลต่างๆ หรือเป็นของฝากญาติมิตร

หมูย่างมีจำหน่ายในชุมชนใหญ่ๆ เกือบทุกชุมชน แต่แหล่งหมูย่างที่ดังๆ คือ หมูย่างทับเที่ยง หมูย่างลำภูรา หมูย่างห้วยยอด หมูย่างที่ดีเจ้าดังๆ มักจะขายหมดตั้งแต่เช้า ก่อน 8 โมง หมูย่างที่ขายช้ากว่านี้แสดงว่ามีบางสิ่งบางอย่างให้พึงระวังบ้าง เช่น อาจปรุงรสได้ไม่เก่ง ย่างหมูไม่สุกได้ที่

หมูย่างที่ดีควรมีรสชาดหอมถึงเครื่อง รสหวานปะแล่มๆ สุกสม่ำเสมอ เนื้อแห้ง กรอบ ไม่ฉ่ำน้ำ ไม่สุกๆ ดิบๆ ครับ ถ้ารับประทานกับน้ำชา กาแฟ คนทำจะให้หนักหวานนิด แต่ถ้าใช้รับประทานกับข้าว คนทำจะลดความหวานลงบ้าง

ตลาดลำภูรา มีเจ้าแนะนำคือ หมูย่างแม่ยิ้น หมูย่างโกท้ามมิ่ง

ตลาดทับเที่ยง(เทศบาล) มีหลายเจ้า เช่นเจ้าในตลาดสดและต้องไปก่อน 8 โมง ชื่อ......

วัฒนธรรมท้องถิ่น

หนังตะลุง มโนราห์หรือโนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ เป็นการแสดงที่มีท่ารำอ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฎิภาณไหวพริบสรรหาคำมาสัมผัสกันให้ได้อย่างฉับไว ประกอบความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรีประกอบด้วยกลอง ทับคู่ ฉิ่ง โหม่ง ปี่ชวาและกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย

หนังตะลุง ศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่นิยมกันมากทั่วภาคใต้ ใช้หนังสัตว์แกะเป็นรูปตัวละคร ตัวแสดงต่างๆ เช่น ฤาษี เจ้าเมือง ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวตลก เป็นต้น นำรูปหนังเชิดหลังจอผ่านแสงไฟส่องทำให้เกิดภาพสีและเงาปรากฎบนจอ นายหนังหรือผู้เชิดหนังตะลุง จะเป็นผู้ขับกลอนหรือพากษ์ไปด้วย จะเป็นผู้ที่มีไหวพริบเป็นเลิศและจะพากษ์คนเดียวตลอดเรื่อง เครื่องดนตรีเช่นเดียวกับมโนราห์ อาจเพิ่มซออู้ หรือซอด้วงไปด้วย

ลิเกป่า ลิเกบกหรือลิเกรำมะนาต่างจากลิเกโรงทั่วไป เพราะจะแต่งกายด้วยชุดธรรมดาไม่ใช่ชุดลิเก นิยมเล่นในหมู่ชาวไทยอิสลาม ใช้ผู้แสดง ๓ คนในฉากเดียวตลอดเรื่อง เปลี่ยนแปลงเฉพาะชื่อสถานที่ตามที่ๆ ไปแสดงเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น ๆ เครื่องดนตรีจะมีรำมะนาด ๒-๓ ใบ ฉิ่ง โหม่ง ฆ้อง ปี่ชวา

งานวิวาห์ใต้สมุทร(Underwater Wedding)

งานวิวาห์ใต้สมุทร เกาะกระดาน


ทุกวันที่ 13-14-15 ของเดือนกุมภาพันธ์ หอการค้าจังหวัดตรัง ได้จัดให้คู่บ่าวสาวทั่วโลกทั้งที่ต้องการจะมาแต่งงานและต้องการมาฮันนีมูนและเต็มใจมาร่วมทำพิธีวิวาห์ใต้สมุทร
ที่เกาะกระดาน อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งการจัดจะจัดแบบพิธีไทยแท้ มีขบวนแห่ รดน้ำ คู่สมรสใดไม่สามารถดำน้ำได้ทางคณะผู้จัดงานจะประกอบพิธีให้แล้วเสร็จบนเกาะ แต่คู่บ่าวสาวที่สามารถหรือผ่านคอร์สดำน้ำแบบสกูบ้าสั้นๆ แล้ว ก็จะให้ลงไปทำพิธีบนพื้นผิวทราย ใช้ทรายแทนน้ำสังข์ จดทะเบียนมงคลสมรสใต้น้ำ


ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...